เครื่องดนตรีประจำชาติ ไทย

ประเทศไทย (Thailand)

1.ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสายมีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง เป็นซอที่มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงใช้ในราชสำนัก

2.ฆ้องวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัสชัน ทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่มาจากภาษาชวา ปรากฎการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่นจีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

3.ขิิม แต่เดิมนั้นเป็นเครื่องดนตรีประเทศจีน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 4 นักดนตรีของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขโดยเปลี่ยนจากสายลวดมาเป็นสายทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายและมือขวามีระดับเกือบจะตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและก้านแข็งขึ้น หย่องที่หนุนสายีความหนากว่าเดิม เพื่อให้เกิดความสมดุลและเพื่อเพิ่มเสียงให้มีความดังมากยิ่งขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมามีความแข็งกร้าวจนเกินไปให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสายทำให้เกิดความนุ่มนวลและได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมของไทยในปัจจุบัน

4.ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุมจึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ระนาดเอกนี้นักดนตรีนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ระนาด” เริ่มมีการนำเอาระนาดเอกมาประสมในวงดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนประกอบของระนาดเอกมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ คือ รางและผืนระนาด หน้าที่ในการบรรเลงระนาดเอกปสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำของวง

5.ระนาดทุ้ม กำเนิดนามัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประดิษฐขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงงทุ้มต่ำกับระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปีพาทย์ไม้แข็ง วงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึก่ำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก เดินทำนองรองในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัดที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์ของระนาดทุ้ม

6.กลองยาว เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว

ใส่ความเห็น